Sensory training

คาดการณ์ความต้องการในอนาคตของการศึกษาระดับอุดมศึกษาและแวดวงการวิจัยในแง่ของความท้าทายทางสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

การศึกษาระดับอุดมศึกษากำลังปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ทุกภาคส่วนในที่เกี่ยวข้องกับระดับอุดมศึกษา รวมไปถึง ภาครัฐ มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรมและพันธมิตรระดับนานาชาติกำลังทำงานร่วมกัน ทุกภาคส่วนกลายเป็นแนวหน้าในการรวบรวมงานวิจัยของตนเพื่อจัดการกับความท้าทายต่างๆทางสังคมที่สำคัญที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้และในขณะเดียวกันยังคงรักษาขีดความสามารถทางด้านความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างและหลังวิกฤตได้เช่นเดียวกัน

บริติช เคานซิลได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้กำหนดนโยบายจากมหาวิทยาลัยและสถาบันของรัฐในไทยที่อยู่ในกลุ่มโครงการความร่วมมือในระดับอุดมศึกษาและกลุ่มความร่วมมือทางด้านงานวิจัยของเราที่มีชื่อว่า Higher Education Partnerships และ Newton Fund การพูดคุยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้านข้อการวิจัยและความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นรวมถึงการวิจัยในมหาวิทยาลัยอีกด้วย 

สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ การเพิ่มขึ้นของประเด็นวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และความร่วมมือที่เน้นการประสานงานระหว่างภาคส่วน การทำงานร่วมกันระหว่างความเชี่ยวชาญต่างๆ ตัวอย่างเช่น แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (one health) ที่นักวิจัยต่างๆมาร่วมกันจัดการกับปัญหาโรคระบาดร่วมกับทั้ง 6 กระทรวง เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น 

ดร. บรรจบ ศรีภา มหาวิทยาลัยขอนเเก่น

การก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลระดับอุดมศึกษาภายหลังโควิด-19 เป็นไปได้อย่างไรบ้าง

ดร. จักรกฤษณ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล): โควิด-19 อาจมองได้ว่าเป็นตัวเร่งในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกันและผลักดันการเรียนรู้แบบออนไลน์ในมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนแนวความคิดของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายเชิงกลยุทธ์เข้าสู่การทำงานร่วมกันในหลายสาขาวิชาและคณะต่างๆ การพัฒนาความสามารถหลัก ความเชี่ยวชาญ การทำงานร่วมกันและการให้ทุนวิจัยเป็นกลยุทธ์หลักของมหาวิทยาลัยในการช่วยพัฒนาความเป็นเลิศ

ดร.บรรจบ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น): สถาบันอุดมศึกษานานาชาติให้ความสำคัญกับการเครือข่ายที่มีอยู่และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระหว่างประเทศของตนมากขึ้นภายหลังสถานการณ์ COVID-19 ในตอนนี้ทางมข. เองกำลังใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในเครือข่ายโรคเขตร้อนระดับภูมิภาคเช่น NRAS +  เครือข่าย Asian Liver Fluke และ เครือข่าย NTDAsia ใน 11 ประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนช่องทางสื่อสาร ข้อมูลข่าวสารและความก้าวหน้าด้านการวิจัยเพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเองก็เปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนไปสู่การเรียนรู้ออนไลน์อย่างเต็มที่ซึ่งผลักดันโดยรองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัลของมหาวิทยาลัย

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการกำหนดประเด็นและการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยอย่างไร 

ดร. กัลยาณ์ (ไบโอเทค, สวทช.): ในฐานะนักวิจัยที่สวทช. เราทำงานเรื่องโรคระบาดในกุ้งซึ่งเป็นธุรกิจของประเทศไทยที่มีมูลค่าสูงกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี โควิด-19 ส่งผลให้ทีมวิจัยต้องหยุดการวิจัยลงชั่วคราว โดยที่เรากำลังพยายามหาวิธีทำงานวิจัยต่อ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียประโยชน์จากการค้นพบวิธีลดต้นทุนในการจัดการโรคระบาดในกุ้ง   

ดร. จักรกฤษณ์: ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้ว่าโควิด-19 ช่วยสร้างความร่วมมือและเครือข่ายพันธมิตร ขณะนี้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยมีเวลามากขึ้นในการสร้างความร่วมมือ โดยมหาวิทยามหิดลก็ได้เข้าไปสนับสนุนในรูปแบบทีมวิจัยที่ลงไปทำงานในพื้นที่ เพื่อช่วยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งนำมาสู่การหารือกันเกี่ยวกับมาตรฐานกระบวนการในการปกป้องบุคลากรทางการแพทย์  

ดร. บรรจบ: สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ การเพิ่มขึ้นของประเด็นวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และความร่วมมือที่เน้นการประสานงานระหว่างภาคส่วน การทำงานร่วมกันระหว่างความเชี่ยวชาญต่างๆ ตัวอย่างเช่น แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (one health) ที่นักวิจัยต่างๆมาร่วมกันจัดการกับปัญหาโรคระบาดร่วมกับทั้ง 6 กระทรวง เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น 

ในปัจจุบัน คนทั่วไปก็เริ่มมีความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับ ‘ความปกติใหม่’ (new normal) ในแง่ของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะต่อยอดความตระหนักรู้และความกระตือรือร้นนี้ไปสู่ประเด็นอื่นๆ เช่น โครงการเมืองอัจฉริยะ (smart city) ซึ่งมีการนำความรู้ทางด้านดิจิตอลเข้ามาช่วยระบุต้นตอของโรคระบาด และให้การรักษาอย่างทันท่วงที หรือแม้แต่ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ 

นักวิจัยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะสำคัญอะไรอีกบ้าง

ดร. บรรจบ: นักวิจัยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับความรู้และทักษะด้านดิจิตอล เพราะเป็นสิ่งที่นักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งระดับกลางและระดับอาวุโส จำเป็นต้องใช้อย่างมาก นอกจากนี้ นักวิจัยยังต้องสามารถสื่อสารงานกับสังคมได้ เพื่อสร้างผลกระทบจากงานวิจัยให้เกิดขึ้นจริง และขยายการรับรู้เกี่ยวกับงานวิจัยให้กับสาธารณะ 

ดร. จักรกฤษณ์: นักวิจัยควรมีทักษะแบบสหวิทยาการ เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนและทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาในประเด็นร่วมระดับโลก และการหาองค์ความรู้ในการพัฒนาเครื่องมือและซอฟต์แวร์สำหรับการทำวิจัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์   

ดร. กัลยาณ์: นักวิจัยควรเตรียมความพร้อมในแง่องค์ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพราะเป็นการเตรียมการขั้นสำคัญในการขยับสู่การเข้าถึงข้อมูลในยุคดิจิตอล การก่อตั้งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาในมหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเข้ามามีส่วนร่วม เป็นคนกลางคอยเชื่อมประสาน และให้ความช่วยเหลือกับนักวิจัย 

มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทผลักดันเรื่องอะไรอีกบ้างเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัย

ดร. จักรกฤษณ์: ผมคิดว่า ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นต้องได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เราก็เริ่มเห็นแนวโน้มของธุรกิจการร่วมทุน (venture capital) ที่กำลังเริ่มเติบโต ควบคู่กับการที่บริษัทเริ่มหันมาร่วมมือกับนักวิจัยมากขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นหากเทียบกับประเทศอื่น หนึ่งในความซับซ้อนของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในระดับท้องถิ่น คือเรื่องเวลา ยิ่งใช้เวลาในการจดทะเบียนนาน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการที่เทคโนโลยีนั้นจะถูกทดแทนก่อนที่จะมีผลคุ้มครองจากการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา   

ประเทศไทยควรมีระบบที่ช่วยสนับสนุนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนักวิจัย ควรมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้หรือการจัดโครงการอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างส่วนงานที่ดูแลด้านการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาและผู้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อช่วยดึงดูดให้นักวิจัยหันมาสนใจการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในระดับท้องถิ่นมากขึ้น 

 

นักวิจัยและนักวิชาการไทยอยากเห็นการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นในด้านใดบ้าง 

ดร. จักรกฤษณ์: การได้พบกับพันธมิตรจากสหราชอาณาจักรเป็นการเปิดประสบการณ์และเป็นโอกาสที่ดีมาก นับเป็นก้าวแรกในการสร้างความร่วมมือกับสหราชอาณาจักร โดยบริติช เคานซิลได้ช่วยประสานและเชื่อมโยงความสนใจของทั้งสองสถาบันเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างความเชี่ยวชาญด้านวิจัยในสาขาต่างๆเข้าด้วยกัน 

ดร. บรรจบ: เราเห็นโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยจากการมีตัวกลางเข้ามาช่วย โดยเฉพาะจากที่ได้เดินทางไปพบกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ การส่งเสริมโอกาสด้านทุนวิจัย การแบ่งปันข่าวสาร และข้อมูลงานวิจัยก็นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อการสร้างเครือข่ายนักวิจัย 

ดร. กัลยาณ์: กิจกรรมครั้งที่ผ่านมาที่จัดโดยบริติช เคานซิล ได้ช่วยรวมให้กลุ่มนักวิจัยในระดับต่างๆได้มารู้จักกันและสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างความร่วมมือ นอกจากนี้ บริติช เคานซิลยังช่วยจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัยในด้านต่างๆมาให้อีกด้วย 

การสนับสนุนด้านทุนความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างส่วนงานและการพบปะกันระหว่างภาคีเครือข่ายจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสร้างความร่วมมือและเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือขึ้นได้จริง 

 

ความคิดเห็นจากบริติช เคานซิล 

การบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับสร้างเครือข่าย – โควิด-19 ทำให้การพบปะระหว่างกันซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายวิจัยต้องหยุดชะงักลง นักวิจัยจำเป็นต้องประเมินทรัพยากรที่มีเพื่อหาวิธีรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยอาศัยการมองหาและสร้างความร่วมมือจากพันธมิตรที่เดิมที่มีอยู่เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ และอาจเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆสำหรับการทำงานวิจัยภายใต้การมีพันธมิตรที่ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 

การทำงานร่วมกัน – ปัจจุบัน มีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นวิจัยใหม่เพื่อตอบรับกับสถานการณ์โรคระบาด รวมถึงในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยกำลังทำงานร่วมกันในรูปแบบความร่วมมือข้ามศาสตร์เพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญต่างๆที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานของมหาวิทยาลัย เราจึงได้เห็นหลายสถาบันอุดมศึกษาที่พยายามพัฒนาความสามารถในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่นี้  

 

เกี่ยวโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษา 

ติดตามข้อมูลโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษาและโครงการสนับสนุนหลักสูตรการศึกษาร่วม เพิ่มเติมได้ที่นี่

 

เหล่าคณาจารย์ร่วมพูดคุย

ขอขอบคุณหัวหน้าโครงการผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษา 

  • ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  
  • ดร. บรรจบ ศรีภา นักวิจัยอาวุโส คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือด้านงานวิจัยและการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  • ดร. กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา หัวหน้าคณะวิจัย และหัวหน้าห้องแล็ป ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) 
Dr. Jackrit
Dr. Banchob
Dr. Kallaya