FameLab 2018 Bangkok Audition

กฏการแข่งขัน

  • ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 3 นาทีในเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ที่สนใจ โดยอาจเป็นหัวข้อวิทยาศาสตร์ ไอเดียใหม่ๆที่น่าสนใจ หรืองานวิจัยของตัวเองก็ได้
  • ไม่สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint หรือคลิปเสียง
  • อนุญาตให้ใช้พร๊อพนำเสนอได้ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสามารถนำอุปกรณ์ขึ้นบนเวทีเอง
  • สามารถใช้ภาษาไทยได้เฉพาะในออดิชั่นรอบแรกผ่าน VDO เท่านั้น และผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในรอบออดิชั่นระดับภูมิภาค (Regional Heat) เป็นต้นไป
  • หากผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ Thailand Final Competition จะต้องนำเสนอเรื่องที่แตกต่างกันจากรอบออดิชั่น

กฎเกณฑ์การแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะมีประชาสัมพันธ์ลงเวปไซต์

กำหนดการเข้าแข่งขัน

รอบออดิชั่น

ผู้สนใจสามารถสมัครผ่าน VDO audition 

  • ต้องโหลดวิดิโอความยาวไม่เกิน 3 นาที ลงผ่านสื่อ Youtube หรือ Vimeo และตั้งค่าเป็น public
  • ไม่สามารถตัดต่อวิดิโอ อาทิ ใช้เอฟเฟคต่างๆ ย่อ หรือ เร่งความเร็ว
  • สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้

การแข่งขันรอบออนไลน์

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องมาแข่งขันสดต่อหน้าคณะกรรมการอีกครั้งผ่านระบบออนไลน์ โดยทางเราจะขอให้ท่านอัดวิดิโอของท่านในขณะที่แข่งขันไปพร้อมๆกัน

  • ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอหัวข้อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ที่อาจเป็นหัวข้อเรื่องเดียวกันกับรอบ VDO audition
  • กรรมการอาจถามคำถามหลังการนำเสนอและให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าแข่งขัน
  • หากได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ คลิป VDO นำเสนอของท่านจะถูกนำไปโปรโมตเพื่อชิงรางวัล People's Choice Award

แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ Final Competition

นี่คือเวทีผู้ที่ผ่านคัดเลือกทั้ง 10 คน จะได้แสดงความสามารถหลังการเข้าร่วม Masterclass สู่คณะกรรมการและสื่อมวลชน เพื่อชิงเป็นตัวแทนประเทศไปแข่งในรอบนานาชาติ

  • ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอหัวข้อเรื่องที่ต่างไปจากรอบออดิชั่น เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
  • กรรมการอาจถามคำถามหลังการนำเสนอและให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าแข่งขัน
  • ประกาศผู้ชนะเลิศในวันแข่งขัน

เกณฑ์การตัดสิน

กรรมการเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ อาทิ วงการวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สื่อมวลชน

ผู้เข้าแข่งขันจะผ่านเกณฑ์การตัดสินโดยใช้หลัก 3Cs คือ เนื้อหา (Content), ความชัดเจน (Clarity) และความน่าสนใจ (Charisma) 

เนื้อหา

เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และถ้าเลือกหัวข้อในทำนองที่มีความขัดแย้งหรือความไม่แน่นอน จะต้องเสนอข้อมูลในมุมมองตรงข้ามด้วย ดังนั้นหัวข้อที่ดีควรจะเลือกให้เหมาะสมกับผู้ชม

ความชัดเจน

ความชัดเจนนั้นจำเป็นสำหรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงสร้างในการนำเสนอนั้นควรจะง่ายในการติดตามและการทำความเข้าใจสำหรับผู้ชมและคณะกรรมการในประเด็นที่นำเสนอ

ความน่าสนใจ

ผู้ฟังและกรรมการควรจะได้รับแรงบรรดาลใจ และความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผู้ชนะคือผู้นำเสนอที่ดึงดูดความสนใจ ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย มีความสนุกสนาน น่าตื่นเต้น และไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่สามารถสื่อสารวิทยาศาสตร์ แต่ไม่สามารถแบ่งปันความน่าหลงไหลไปยังผู้อื่นได้